ข้อมูลท่องเที่ยว : เชียงตุง ตั้งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า


หอหลวงที่เมืองเชียงตุง

          หอหลวงที่เมืองเชียงตุง ของเจ้าก้อนแก้ว อินแถลง ถูกพม่าทุบทิ้งเมื่อ พ.ศ. 2534เมืองเชียงตุง(ภาษาพม่า: ) ตั้งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า เป็นเมืองของชาวไทเขิน และ ชาวไทใหญ่ ถือได้ว่า เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่า เมืองเชียงใหม่ แห่ง ล้านนาไทย และ เมืองเชียงรุ่ง แห่ง สิบสองปันนา
   

ต้นยางเมืองเชียงตุง


หนองตุง



เชียงตุงมีชื่อ ถึง 3 ชื่อ
ตุงคบุรี = เป็นชื่อเรียกโดยย่อๆ ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงตุง
เขมรัฐตุงคบุรี, นครเขมรัฐ = ในช่วงที่เจริญรุ่งเรือง และ
เชียงตุง = ชื่อสามัญ

ภูมิลักษณะ
          เชียงตุงเป็นจังหวัดหนึ่งในรัฐฉานของพม่า ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ตั้งอยู่ละติจูดที่ 21 องศา 17 ลิปดา 48 ลิบดาเหนือ และ ลองติจูดที่ 99 องศา 40 ลิปดา ตะวันออก ความสูงประมาณ 2,700 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีรูปร่างเป็นแอ่งกระทะมีภูเขาล้อมรอบ มีที่ราบน้อยมาก จุดที่สำคัญที่สุดก็คือ เวียงเชียงตุง แม้จะเป็นที่ราบ แต่ก็มีพื้นที่ตะปุ่มตะป่ำ เชียงตุงมีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทขึนหรือไทเขิน มีไทใหญ่ และ พม่า ลองลงมา ยังมีชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น อาข่า ปะด่อง ว้า ฯลฯ

กำแพงเมืองเชียงตุง
          กำแพงเมืองเชียงตุงนั้นก็คือ กำแพงที่ล้อมรอบเวียงเชียงตุง พวกเขาก่อกำแพงเมืองโดยอาศัยภูมิประเทศ ใช้วิธีปรับแนวกำแพงเมืองไปตามธรรมชาติ ที่ที่สูงก็ไม่ต้องก่อเพิ่ม ที่ๆต่ำก็เสริมให้สูงขึ้น ทำอย่างนี้จนรอบเวียง ความยาวของกำแพงนั้นคาดว่ายาวพอๆกับกำแพงในเวียงเชียงใหม่ แต่กำแพงเชียงตุงนั้น สูงใหญ่กว่าของเวียงเชียงใหม่ มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ากำแพงเมืองเชียงตุงมีความยาวมาก ก็คือครั้งเมื่อกองทัพในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีกำลังพลนับหมื่นคน แต่ก็มิสามารถล้อมได้หมด เนื่องจากกำแพงนั้นใหญ่มาก โดยเฉพาะทางทิศเหนือ ซึ่งในสมัยนั้น ต้องตั้งค่ายทางทิศนี้ถึง 12 ค่าย

การก่อตั้ง
          ประวัติเริ่มแรกของเมืองนั้นไม่ค่อยจะแน่ชัดมากเท่าไรนัก แต่มีตำนานเล่าขานกันว่า เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ท่วมเมือง ไม่มีที่จะไปเนื่องจากเป็นแอ่ง แต่ว่ามีฤาษีนามว่า ตุงคฤาษี แสดงอิทธิฤทธิ์ทำให้นำไหลออกไปอยู่ตรงกลางเมือง ทำให้เกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกกันว่า หนองตุง อันเป็นที่มาของชื่อ เชียงตุง เป็นแว่นแคว้นที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา และ วัฒนธรรม อุดมไปด้วยป่าไม้ และ มีเจ้าฟ้าที่เข้มแข็งปกครอง จึงเฉลิมนามให้ใหม่ว่า เขมรัฐตุงคบุรี แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นเริ่งจริง หรือ เท็จ

นครเชียงตุง
          พงศาวดารของเมืองได้กล่าวไว้ว่า เมื่อจุลศักราช 791(พ.ศ. 1772) พญามังรายได้เสด็จประพาสป่าและทรงไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง พระองค์ทรงเล็งเห็นภูมิประเทศของเมืองเชียงตุง ก็พอพระทัยมาก จึงวินิจฉัยสั่งให้ข้าราชบริพาร สลักรูปพรานจูงหมาพาไถ้แบกธน ูไว้บนยอดดอยที่เห็นเมือง หลังจากนั้น พระองค์ก็เสด็จกลับมาเมืองเชียงราย แล้วทรงส่งกองทัพ มีแม่ทัพนามว่าขุนคง และ ขุนลัง ให้มาชิงเมืองเชียงตุง จากชาวลัวะแต่ก็ไม่สำเร็จ พระองค์จึงส่ง มังคุม และ มังเคียน ซึ่งเป็นชาวลัวะที่อาศัยอยู่กับพระองค์มารบอีกครั้ง ปรากฏว่าก็ได้ชัยชนะ พญามังรายจึงมอบให้ มังคุม และ มังเคียน ปกครองเมืองเชียงตุง

ภายหลังเมื่อมังคุมมังเคียนสิ้นชีวิต พญามังรายจึงส่ง เจ้าน้ำท่วม ผู้เป็นราชบุตรไปปกครองเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. 1786 เชียงตุงจึงเป็นเมือง "ลูกช้างหางเมือง" หรือ "เมืองลูกหลวง" ขึ้นกับอาณาจักรล้านนา

ตามหลักฐานทั้งหลาย ได้ระบุไว้ว่ามีเจ้าฟ้าปกครองอยู่ 33 พระองค์ พระองค์สุดท้ายคือ "เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง" จากหนังสือ "ตำนานมังราย เชียงใหม่ เชียงตุง" ซึ่งจารึกอยู่ในหนังสือใบลานของวัดอุโมงค์ อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อความของเอกสารดังกล่าวได้แบ่งออกเป็น 2 ตอนใหญ่ ๆ

ตอนแรกจากหน้าลานที่ 1 - 22 กล่าวถึงพญามังรายมหาราช จนกระทั่งถึงพระยาผายู ซึ่งอยู่เสวยราชย์ในเมืองนพบุรีศรี
พิงไชย เชียงใหม่(นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่) มีอายุยืนได้ 70 ปี ก็จุติตายไป พระยาผายูตายปีเปิกเล็ด ศักราชได้ 899

ตอนที่ 2 เริ่มตั้งแต่หน้าลานที่ 22 - 46 เริ่มตั้งแต่พระยาลัวะจักรราชจนถึงตอนที่เจ้าหม่อมมหาวัง (เจ้าเมืองเชียงรุ้ง) สิ้นพระชนม์ เป็นการเท้าเป็นการย้อนราชนิกูรของพญามังราย ไปจนถึงเมืองในอาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรรอบๆ
สิ่งที่น่าสนใจตอนหนึ่งในหนังสือเรื่องนี้ คือการกล่าวถึงเมืองเชียงตุงในอดีต ซึ่งระบุว่า มังคุ่มครองเมืองได้ 17 ปี ก็สิ้นชีพ และ มังเคียนครองเมืองได้ 7 ปี ก็เสียชีวิต หลังจากนั้น เมืองเชียงตุงจึงเป็นเมืองร้าง เป็นเวลา 10 ปี พญามังรายจึงส่ง พระยานาถะมู ไปครองเชียงตุงในปี จ.ศ.833(พ.ศ. 1814) หลังจากนั้นพระยานาถะมูจึงโปรดให้สร้างเวียงเชียงเหล็กในปีต่อมา

ในปีต่อๆมา ชาวลัวะได้ลุกลามเมือง และ ทดน้ำไปสู่เมือง เพื่อจะให้เมืองน้ำท่วม พระยานาถะมูเจ้าเมืองในขณะนั้นจึงสิ้นพระชนม์ ครองเมืองได้ 14 ปี พระยาน้ำท่วมกินเมืองแทนพ่อในปี จ.ศ. 845

เชียงตุง ในช่วงที่เชียงใหม่ มีอิทธิพล
          ในปี จ.ศ. 891 พระยาผายู(พ.ศ. 1889-1898) กษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่ ได้ส่งพระโอรสไปครองเมืองเชียงตุง คือ พระยาเจ็ดพันตู โหรของพระองค์ได้ทำนายไว้ว่า "เมืองเชียงตุงเป็นเมืองนามจันทร์ น้ำไหลจากทางทิศใต้ไปทิศเหนือ ผู้หญิงกินเมืองดี ถ้าผู้ชายกินเมืองให้เลี้ยงเจนเมือง 500 นา และสร้างเจดีย์เป็นชื่อเมืองจึงจะดี" ในการเสด็จไปครองเมืองเชียงตุงในครานั้น พระยาเจ็ดพันตูจึงทรงได้นำเอาช้างม้า คนพลติดตามไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระไตรปิฎกและพระสงฆ์ 4 รูป คือ พระมหาธัมมไตร จากวัดพระแก้วเชียงราย พระธัมมลังกา วัดหัวข่วง พระทสปัญโญ วัดพระกลาง พระมหาหงสาวดี วัดจอมทอง เมืองเชียงใหม่

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเชียงตุงและเชียงใหม่สมัยราชวงศ์มังราย จึงสามารถแบ่งได้ง่ายว่าดังนี้ ในสมัยแรกเป็นแบบเครือญาติ และ ขุนนาง ในตองกลาง ขุนนางปกครอง และ ยุคสุดท้ายราชวงศ์ก็ได้กลับมาปกครองอีกครั้ง

ในสมัยพญากือนาถึงสมัยพญาแก้ว(พ.ศ.1898-2068) ซึ่งเป็นช่วงที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในอาณาจักรล้านนา เป็นช่วงที่ตั้งกรุงศรีอยุธยาใหม่ๆ ความสัมพันธ์นั้นแน่นแฟ้นมากๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากเชียงใหม่สู่เชียงตุง ไปถึงเชียงรุ่ง จึงเป็นไปได้โดยง่าย แบ่งได้เป็น 2 ตองใหญ่ๆ คือ ในนสมัยพญากือนาพระสงฆ์นิกายรามัญวงศ์(พม่า ผสม มอญ)จากวัดสวนดอก และ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช นิกายสิงหล(สุโขทัย อยุธยา)จากวัดป่าแดง ได้ออกเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ขชาวเมืองได้รู้ ไม่ใช่แต่ศาสนาอย่างเดียว วัฒนธรรม ตัวอักษร และ ภาษา ก็ออกไปเผยแพร่ด้วย ดังนั้นตัวเมืองของล้านนา และ ตัวเขียนของไทเขินจึงใกล้เคียงกันมาก

ทิวทัศน์เมืองเชียงตุง
          เชียงตุงในสมัยปฏิวัติ และ สงครามโลก
เชียงตุงในสมัยนี้ ทำให้เกิดเจ้าฟ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเชียงตุง นามว่า เจ้ารัตนก้อนแก้วอินแถลง หรือ เจ้าอินแถลง ซึ่ง อยู่ร่วมสมัยกับ รัชกาลที่ 5 ของไทย พระองค์ปกป้องเมืองเชียงตุงไม่ให้กลายเป็นเมืองอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ แต่หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ เชียงตุงก็ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษ จนกระทั่งในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดเมืองเชียงตุง และ เมืองพาน จากอังกฤษ ที่เคยเป็นของชาวสยาม โดยมีความช่วยเหลือ จากญี่ปุ่น มีข้ออ้างว่ามีประวัติ และ เชื่อชาติที่เหมือนกัน นอกจากนั้น กองทัพไทยยังเข้าไปโจมตีและปกครอง เมืองตองยี และ สิบสองปันนาอีกด้วย แต่ไทยก็มิได้ปกครองโดยตรง ญี่ปุ่นช่วยให้บริเวญเมืองเชียงตุง และ เมืองพานมาร่วมเข้สกับประเทศไทย รวมทั้งหมดนี้ทำให้จัดตั้งเป็น สหรัฐไทยเดิม แต่ก็อยู่ได้เพียงแค่ 3 ปี ก็ต้องคืนกลับให้แก่อังกฤษเหมือนเดิม เพราะว่าญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม